พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น
จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างแหล่งรวบรวมมรดกทางศิลปะวัฒนธรรม
และภูมิปัญญาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นควาของอนุชนคนรุ่นหลัง
โดยมีอาคารอันทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้
ซุ้มแสดงวิถีชีวิต และนิทรรศการอันเป็นเอกลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งจัดแสดงไว้
จากนโยบายของกรุงเทพมหานครที่จะพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมดังกล่าว
กรุงเทพมหานครโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
จึงได้ริเริ่มโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพขึ้นในปี พ.ศ. 2546
เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวม และเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม
ตลอดจนภูมิปัญญาของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น และเผยแพร่แก่ประชาชน
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในแต่ละพื้นที่ส่งเสริมให้กรุงเทพเป็น
“
มรดกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี และมีเอกรักษ์ทางวัฒนธรรม ”
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการแก่ประชาชนจำนวนทั้งสิ้น
27 แห่ง ใน 25พื้นที่เขต
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อเป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมลูต่างๆทั้งในด้านประวัติความเป็นมา
วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.
เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
และตระหนักถึงคุณค่าที่ควรรักษาไว้ให้คงอยู่
3.
เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับชุมชน
เป็นคลังความรู้ของคนในท้องถิ่นและผู้สนใจทั่วไป
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้กับกรุงเทพมหานคร
4.
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามัคคีในชุมชนและสร้างเศรษฐกิจชุมชน
ลาดกระบัง : ภูมิ
– ถิ่นฐาน
“ วัฒนธรรมมอญ
โบสถ์ไม้สักทองวัดทิพพาวาสหลวงพ่อขาววัดลาดกระบัง ”
เดิมพื้นที่บริเวณเขตลาดกระบังเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองมีนบุรี
มีฐานะเป็น “ อำเภอแสนแสบ”
ต่อมาราวปี พ.ศ. 2468 – 2469
พลเอกสมเด็จพระเจ้าที่ยาเธอกรมหลวงลพบุรีราเบศร์
ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงเห็นว่าชื่ออำเภอแสนแสบ
ไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะคลองแสนแสบนั้นไหลผ่านไปทางอำเภอมีนบุรี ไม่ได้ไหลผ่านอำเภอแสนแสบแต่อย่างใด
จึงทรงให้เปลี่ยนชื่อจาก “ อำเภอแสนแสบ ”
เป็น “ อำเภอลาดกระบัง ”
ตามที่ตั้งที่ว่าการอำเภอซึ่งอยู่ในตำบลลาดกระบัง
ต่อมาจังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมกับจังหวัดพระนคร
อำเภอลาดกระบังจึงขึ้นกับจังหวัดพระนคร เมื่อมีประกาศคณะปฎิวัติรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2515
อำเภอลาดกระบังจึงเปลี่ยนฐานะเป็น “ เขตลาดกระบัง ”
มีคลองประเวศบุรีรมย์เป็นคลองสายหลักที่มีความยาวและใหญ่ที่สุด
ทำให้ผู้คนในพื้นที่เขตลาดกระบังยังคงเดินทางสัญจรทางน้ำ
นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ทางการเกษตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น